เชื่อว่าตั้งแต่ที่มีการ Work From Home หลายคนน่าจะหันมาทำกับข้าวกินเองที่บ้านมากขึ้น เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่ดีขึ้น ทำให้เราออกไปซื้ออาหาร หรือกินข้าวนอกบ้านได้ลำบากกว่าปกติ วันนี้เราเลยมีวิธีการหุงข้าวในสไตล์แม่บ้านญี่ปุ่นมาฝาก แม้ว่าข้าวญี่ปุ่นกับข้าวไทยจะมีความแตกต่างอยู่มาก แต่เราก็อยากให้ข้าวที่หุงออกมานิ่ม กินได้อร่อยยิ่งกว่าเดิม
หุงข้าวให้นุ่มตามสไลต์แม่บ้านญี่ปุ่น
คนญี่ปุ่นมักจะเอาข้าวสารไปแช่น้ำก่อนที่จะหุง เพื่อให้ข้าวสารดูดซึมน้ำเข้าไปก่อน พอเวลาที่เราเอาขึ้นเตา หรือลงหม้อ ความร้อนก็จะผ่านเข้าไปในเมล็ดข้าวได้อย่างทั่วถึง เกิดเป็นกระบวนการเจลาติไนซ์ (Gelatinization) ซึ่งจะทำให้เมล็ดแป้งพองตัวสูงสุด จนได้ข้าวที่สุกนุ่มฟู
ต้องแช่ข้าวสารไว้นานเท่าไหร่ถึงจะพอดีเมื่อนำไปหุง
โดยทั่วไปแล้วคนญี่ปุ่นจะแช่ข้าวสารเอาไว้ในน้ำประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ซึ่งน้ำจะถูกดูดซึมเข้าไปในเมล็ดข้าวสารได้ถึง 80% ระยะเวลาแค่นั้นก็เพียงพอที่จะทำให้ความร้อนผ่านเข้าสู่เมล็ดข้าวเพื่อทำให้ได้ข้าวสวยที่สุกนุ่มฟูแล้ว แต่ระยะเวลาในการดูดซึมของน้ำเข้าไปที่เมล็ดข้าวก็จะมีอัตราความเร็วที่แตกต่างกันไปตามฤดูกาล ดังนี้
- ฤดูร้อน 20-30 นาที
- ฤดูหนาว 60-90 นาที
- ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง 45 นาที
- ประเทศไทยแช่ไว้ 20 – 30 ก็น่าจะเพียงพอแล้ว
นอกจากระยะเวลาและฤดูกาลแล้ว ชนิดของข้าวสารก็เป็นเรื่องที่เราต้องคำนึงถึง หากเป็นข้าวสารที่เก็บเกี่ยวมาใหม่ ๆ มักจะมีความชื้นอยู่ในเมล็ด ก็จะใช้เวลาในการแช่น้ำที่น้อยลงกว่าข้าวสารปกติ แต่หากเป็นข้าวสารเก่าก็อาจจะต้องเพิ่มเวลาในการแช่อยู่สักหน่อย
แช่น้ำแล้วควรต้องเทน้ำทิ้งหรือไม่ ?
ขั้นตอนก่อนการหุง คนญี่ปุ่นมักจะล้างข้าวสารตามปกติ จากนั้นก็ใส่น้ำลงไปตามสัดส่วนของข้าวที่ต้องการหุงและแช่ไว้ตามเวลาที่กำหนด แล้วก็กดหม้อหุงข้าวเพื่อหุงตามปกติ แต่ทั้งนี้ ในหม้อหุงข้าวบางรุ่นก็อาจจะมีขั้นตอนการแช่น้ำให้โดยที่เราไม่ต้องแช่น้ำเอาไว้เองก่อน โดยที่เราสามารถตั้งเวลาในการแช่ข้าวสารได้ ซึ่งโดยปกติแ้ว คนญี่ปุ่นจะหุงข้าวด้วยหม้อดิน เมื่อล้างน้ำแล้วก็จะเทน้ำออก แล้วมีการเติมน้ำ หรือน้ำซุปลงไปทีหลัง ตอนที่เทควรใช้ตะแกรงที่รองด้วยผ้าชุบน้ำเอาไว้ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าวสารหัก
อ่านเพิ่มเติม สุขภาพ